top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

♻️ ไทยพร้อมแค่ไหนกับการประชุม COP 28


จากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP 26) ประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์ในการยกระดับการดำเนินงานของประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero GHG Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก (NDC) ครอบคลุมทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ เป็น 40% ภายในปี ค.ศ. 2030


✅️ ช่วงที่ผ่านมา เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประชุม COP28 ของประเทศไทยนั้น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกให้กับภาคส่วนต่างๆ อาทิ การสนับสนุนภาคเอกชนร่วมแสดงเจตนารมณ์ในการมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ผ่านเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) พัฒนามาตรฐานให้การรับรองเครื่องหมายรับรอง Net Zero Pathway และยกระดับมาตรฐานโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER โดยพัฒนามาตรฐาน Premium T-VER ที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากลในด้านความน่าเชื่อถือในกระบวนการลดก๊าซเรือนกระจก โดยอยู่ระหว่างการประเมินโดย ICAO เพื่อให้เป็นคาร์บอนเครดิตที่สายการบินสามารถใช้ชดเชยภายใต้มาตรการ CORSIA ได้ นอกจากนี้ อบก. ยังให้การสนับสนุนภาครัฐในการทำความตกลงกับต่างประเทศเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีและ Carbon Finance ในการลงทุนและพัฒนาโครงการ ผ่านกลไกความร่วมมือที่มีการแบ่งปันผลการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ความตกลงปารีส (Article 6) โดยใช้มาตรฐาน T-VER ในการพัฒนาโครงการ


✅️ สำหรับ COP 28 ที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 12 ธ.ค. 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ นี้ มีประเด็นสำคัญที่น่าจับตามอง ได้แก่


🔹️ (1) เร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างเป็นระบบที่เป็นธรรมและเท่าเทียม และลดก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็วก่อนปี ค.ศ. 2030 เพื่อให้อยู่บนเส้นทางสู่เป้าหมาย 1.5°C


🔹️ (2) ยกระดับการสนับสนุนด้านการเงิน (Climate finance) แก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงเร่งให้ประเทศพัฒนาแล้วร่วมให้การสนับสนุนด้านการเงินให้บรรลุเป้าหมายหนึ่งแสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีจนถึงปี ค.ศ. 2025 และยกระดับเป้าหมายดังกล่าวในระยะถัดไป


🔹️ (3) เสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง Climate action กับความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ร่วมด้านความยั่งยืน


🔹️ (4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงเยาวชน ชนพื้นเมือง ชุมชน เป็นต้น


นอกจากนี้ ยังมีประเด็นสำคัญที่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่มากกว่า 100 บริษัททั่วโลกเรียกร้องรัฐบาลในการผลักดันข้อตัดสินใจในการประชุม COP28 ในการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่ได้ผ่านการจัดการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก (Phase out “unabated” fossil fuels) ผ่านการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานโลกและการกำหนดราคาคาร์บอนที่ชัดเจน รวมถึงประเด็นการจัดการกับก๊าซมีเทน (Methane) รวมถึงที่รั่วไหลจากกระบวนการผลิตและขนส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเชื่อเพลิง จะมีผลักดันในการประชุม COP28 โดย UAE ในฐานประธานการประชุมจะผลักดันการตั้งเป้าสำหรับบริษัทน้ำมันแห่งชาติในการมุ่งสู่ “Near Zero Methane” ภายในปี ค.ศ. 2030


🚩แหล่งที่มาของข้อมูล: #TGO


---------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่

Facebook: Net Zero Techup


ดู 80 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page