top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

โลกส่งสัญญาณเตือนการหายไปของปูหิมะในอลาสก้า

อัปเดตเมื่อ 5 มี.ค. 2566


♻️ ปูหิมะหลายพันล้านตัวหายไปจากน่านน้ำรอบอลาสก้า ส่งผลให้อลาสก้ายกเลิกเทศกาลจับปูหิมะเป็นครั้งแรก เนื่องจากประชากรปูลดลงจากประมาณ 8 พันล้านในปี 2018 เป็น 1 พันล้านในปี 2021 ซึ่งลดลงกว่า 90% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เปิดเผยโดย Benjamin Daly นักวิจัยจากกรมประมงและเกมเเห่งอลาสก้า (Alaska Department of Fish and Game)


เทศกาลจับปูอลาสก้าสายพันธุ์ Red King Crab ในน่านน้ำ Bristol Bay ก็จะถูกปิดเป็นปีที่สองติดต่อกัน โดยเจ้าหน้าที่ได้อ้างว่าการจับปูมากเกินไปเป็นเหตุผลในการยกเลิกครั้งนี้ Mark Stichert เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานการจัดการกรมประมงและเกมเเห่งอลาสก้า กล่าวว่า สาเหตุมาจากการจับปูจากมหาสมุทรมากกว่าการกำเนิดแทนที่โดยธรรมชาติ ซึ่งจากการสำรวจระหว่างปี 2021 ถึง 2022 พบว่าปูหิมะเพศผู้ที่โตเต็มวัยมีประชากรลดลงประมาณ 40% หรือคิดเป็น 45 ล้านปอนด์โดยประมาณในทะเลแบริ่ง


Michael Litzow ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการ Kodiak ของ NOAA Fisheries กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการหายไปของปูหิมะอย่างน่าตกใจ ปูหิมะเป็นสายพันธุ์อาศัยในน้ำเย็นและพบมากในพื้นที่ที่อุณหภูมิของน้ำต่ำกว่า 2°C โดย Litzow กล่าวว่า เมื่อมหาสมุทรอบอุ่นและน้ำแข็งในทะเลหายไป มหาสมุทรรอบๆ อลาสก้าเริ่มไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพของสัตว์ชนิดนี้ ซึ่งเขาได้ศึกษาอุณหภูมิในทะเลแบริ่งที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งในปี 2018 ได้ข้อสรุปว่า "การเปลี่ยนเเปลงของอุณหภูมิและปริมาณน้ำแข็งที่ลดลงในทะเลแบริ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน"


จากรายงานการประเมินสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Climate Assessment) กล่าวว่า ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา มลรัฐอลาสก้าได้อุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว เร็วกว่าสองเท่าของพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของสหรัฐอเมริกา โดยอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยทั้งรัฐต่อปีเพิ่มขึ้น 3°F และอุณหภูมิฤดูหนาวเฉลี่ย 6°F โดยเพิ่มขึ้นทุกปี ภาวะโลกร้อนส่วนใหญ่เกิดขึ้นราวๆ ปี 1976 ระหว่างการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสภาพอากาศที่เย็นไปเป็นแบบที่อุ่นกว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอลาสก้าปรากฏเด่นชัด รวมถึงการละลายของหิมะในฤดูใบไม้ผลิ น้ำแข็งในทะเลลดลง ธารน้ำแข็งที่แผ่ขยายออกไป ภูมิประเทศที่แห้งแล้ง การระบาดของแมลง และไฟป่าที่เเผ่ขยายกว้างยิ่งขึ้น เป็นต้น โดยอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในอลาสก้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 2°F ถึง 4°F ภายในปี 2050 หากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงศตวรรษนี้ ขอบเขตและความหนาของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกก็จะลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายฤดูร้อนเดือนกันยายน ซึ่งขณะนี้มีน้ำแข็งในทะเลลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับปี 1979 ที่ได้บันทึกภาพไว้ผ่านดาวเทียม


🚩ที่มาของข้อมูลเเละวิดีโอ:


---------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่


ดู 10 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


Post: Blog2_Post
bottom of page