top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

♻️ เนเธอร์แลนด์เตรียมสร้างโรงงานผลิต "ไฮโดรเจนแบบผง" แห่งแรกของโลก


เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 Electriq Global บริษัทผู้ให้บริการโซลูชันไฮโดรเจนและ Zenith Energy Terminals บริษัทจัดเก็บและจัดการพลังงานระดับโลก ได้ประกาศความร่วมมือในการสร้างโรงงานผลิตไฮโดรเจนแบบผงแห่งแรกของโลก ที่ Zenith's Terminal บนท่าเรืออัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งยังไม่ได้ระบุแผนดำเนินการก่อสร้างจะเริ่มขึ้นเมื่อไหร่


โรงงานผลิตผงไฮโดรเจนของ Electriq Global จะอาศัยพลังงานลมในการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ผงไฮโดรเจนนี้สามารถแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ผลิตโดย Electriq Global แทนการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทดีเซลทั่วไป เช่น ใช้ในงานก่อสร้าง ไฮโดรเจนชนิดผงมีข้อดีคือปลอดภัยและใช้เพียงน้ำเปล่าเท่านั้นในการทำปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolysis)


🚩 Electriq Global คือใคร ?


Electriq Global เป็นบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอลได้พัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ทำงานด้วยไฮโดรเจนในรูปแบบผง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่มีการปล่อยก๊าซ CO2 ภารกิจของพวกเขาคือต้องการให้การใช้ไฮโดรเจนสีเขียวเป็นเรื่องง่ายเหมือนกับการชงกาแฟ อุปกรณ์ดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 โดยทดลองใช้กับเคลนขนาดใหญ่ของ RKB Ridderkerk มันทำงานเหมือนกับเครื่องปั่นไฟทั่วไป แต่ใช้ไฮโดรเจนแบบผงผสมเข้ากับน้ำแทนการใช้น้ำมันดีเซล


การขนส่งไฮโดรเจนจะง่ายขึ้นเมื่อทำให้อยู่ในรูปแบบผง และสามารถอัดเป็นก้อนที่มีขนาดใหญ่ได้ ข้อดีคือง่ายต่อการขนส่งเป็นสินค้าเทกองหรือบรรจุถุง อีกทั้งสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้นที่อุณหภูมิปกติ ปัจจุบันการขนส่งไฮโดรเจนมีราคาแพงและซับซ้อน เนื่องจากต้องทำให้เป็นของเหลว หรือผสมเข้ากับแอมโมเนีย หรือ เมทานอล สำหรับทำหน้าที่เป็นตัวกักเก็บพลังงาน (Energy Carrier) และต้องใช้เรือบรรทุกชนิดพิเศษในการขนส่ง


🚩 ไฮโดรเจนแบบผง คืออะไร ?


ไฮโดรเจนแบบผง คือ โพแทสเซียมโบโรไฮไดรด์ (Potassium Borohydride) มีสูตรทางเคมี คือ KBH4 มีสถานะเป็นของแข็งคล้ายผงแป้ง หรือ ผลึกสีขาว มีจุดหลอมเหลวสูงถึง 585 °C ที่ความดันบรรยากาศ มีความเสถียรในอากาศ ไม่ดูดความชื้น โพแทสเซียมโบโรไฮไดรด์ละลายได้ดีในน้ำ และปลดปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออกมาอย่างสมบูรณ์เมื่อสารละลายได้รับความร้อนถึง 1,000 °C นอกจากนี้ ยังสามารถละลายได้ในแอมโมเนียเหลว ละลายได้เล็กน้อยในเมทานอล (methanol) และเอทานอล (ethanol) แทบไม่ละลายในอีเทอร์ (ether) เบนซีน (benzene) เตตระไฮโดรฟูแรน (Tetrahydrofuran) เมทิลอีเทอร์ (methyl ether) และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ มีความคงตัวในสภาพแวดล้อมที่เป็นด่าง (alkaline)


KBH4 จัดเป็นสารเคมีอนินทรีย์ (Inorganic) ที่ใช้ในการสังเคราะห์ทางเคมี โดยตัวมันเองทำหน้าที่เป็นรีดิวซิงเอเจนต์ (Reducing Agent) ที่ทำให้สารเคมีอื่นเกิดปฏิกิริยารีดักชัน (Reduction) ในขณะที่ตัวมันเองปลดปล่อยอะตอมไฮโดรเจนออกมาได้อย่างง่ายดาย โบโรไฮไดรด์ทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ (Hydrolysis) มีความเป็นพิษหากกลืนกินเข้าไปในร่างกาย


ปัจจุบัน KBH4 ถูกนำไปใช้เป็นจำนวนมากในอุตสาหกรรมเคมีเกษตร อุตสาหกรรมยา และสารมัธยันตร์ (Intermediate) สามารถสังเคราะห์ได้โดยการทำปฏิกิริยาระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) กับโซเดียมโบโรไฮไดรด์ (Sodium Borohydride) นอกจากนี้ยังใช้ในเชิงเคมีวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมกระดาษ การบำบัดน้ำเสียที่มีสารปรอท และการสังเคราะห์เซลลูโลสโพแทสเซียม เป็นต้น


🚩 วิธีการเตรียม KBH4 แบบดั้งเดิม (Conventional)


✅️ 1. เตรียมสารละลายด่างโซเดียมโบโรไฮไดรด์ (Sodium Borohydride Alkaline) ซึ่งได้จากกระบวนการไฮโดรไลซิส (hydrolysis) โดยวิธีโซเดียมโบโรไฮไดรด์เมทิลบอเรต (sodium borohydride methyl borate method)


✅️ 2. ถ่ายเทสารละลายด่างโซเดียมโบโรไฮไดรด์ลงในถังกวนเพื่อตกผลึก (crystallization tank) และให้ความร้อนถึง 60 °C พร้อมกับการกวนในเวลาเดียวกัน


✅️ 3. จากนั้นเติมสารโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (potassium hydroxide) และบ่มเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตามด้วยการทำให้เย็นลง และพักทิ้งไว้เป็นเวลา 12 ชั่วโมง


✅️ 4. ทำการปั่นแยก (centrifugation) เพื่อให้ตกผลึก ซึ่งผลึกที่ได้จะถูกล้างด้วยเอทานอล และทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 80 °C เป็นเวลา 16 ชั่วโมง ก็จะได้ผลิตภัณฑ์โพแทสเซียมโบโรไฮไดรด์ (KBH4 product)


**************************************

📌 ไฮโดรเจนแบบผง ใช้งานอย่างไร ?

📌 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจนแบบผง ทำงานอย่างไร ?

สามารถดูโพสย้อนหลังที่ 👇


**************************************


🚩 แหล่งที่มาของข้อมูลและวิดีโอ:










---------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่

Facebook: Net Zero Techup


ดู 26 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page