top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

🔥🌏 องค์การสหประชาชาติ โจมตีบริษัทต่างๆ ที่พึ่งพา Carbon Credit เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero


องค์การสหประชาช (United Nations) ได้แสดงจุดยืนต่อต้านการใช้คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) เพื่อหักล้างการปล่อยก๊าซ CO2 ของบริษัทต่างๆ ซึ่งสร้างความขัดแย้งกับกลุ่มบริษัทน้ำมันและเทคโนโลยีขนาดใหญ่


✅️ แม้ว่าผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่ เช่น Chevron และ ExxonMobil รวมถึงบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Microsoft และ Apple ได้รวมการชดเชยคาร์บอนในแผนการเพื่อให้บรรลุคำมั่นสัญญาด้านสภาพอากาศที่ให้ไว้กับนักลงทุนก็ตาม นอกจากนี้ อุตสาหกรรมที่มีการปล่อย CO2 สูงในการผลิต เช่น เหล็กและปูนซีเมนต์ ยังพึ่งพาคาร์บอนเครดิตในตลาดเอกชนเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero


✅️ โดยร่างเอกสารของสหประชาชาติระบุว่า "คาร์บอนเครดิตที่ใช้ไม่สามารถนับเป็นการลดการปล่อยก๊าซของผู้ก่อมลพิษได้" เมื่อซื้อในตลาดภาคสมัครใจ (Voluntary Markets) ที่อยู่นอกโครงการที่รัฐบาลควบคุม ซึ่งบริษัทต่างๆ สามารถค้าใบอนุญาตให้สิทธิในการปล่อยก่อมลพิษได้


✅️ โดย António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ ได้แสดงความเห็นคัดค้านการพึ่งพาคาร์บอนเครดิตอย่างชัดเจนในสุนทรพจน์เมื่อปีที่แล้ว เมื่อเขากล่าวว่าภาคธุรกิจธุรกิจ นักลงทุน หน่วยงานต่างๆ ควรมุ่งเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเอง แทนที่จะชดเชยการปล่อย CO2 ด้วยคาร์บอนเครดิตที่น่าสงสัยนี้


✅️ ในทางทฤษฎี รายได้จากแต่ละคาร์บอนเครดิตจะนำไปสนับสนุนโครงการที่ลด CO2 จากชั้นบรรยากาศ ซึ่งอาจหมายถึงการปกป้องพื้นที่ป่าฝนจากการตัดไม้ทำลายป่า หรือการจับและกักเก็บ CO2 ใต้ดิน อย่างไรก็ตาม โครงการหลายแห่งถูกวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากปริมาณ CO2 ที่ถูกกำจัดออกหรือหลีกเลี่ยงนั้นไม่สามารถตรวจสอบได้


✅️ เมื่อปีที่แล้ว Boston Consulting Group (#BCG) ร่วมมือกับ Shell ได้เผยแพร่ประมาณการว่าการซื้อขายคาร์บอนอาจเพิ่มขึ้นเป็นระหว่าง 10,000 ถึง 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในสิ้นทศวรรษนี้ อย่างไรก็ตาม มูลค่าของคาร์บอนเครดิตที่ใช้แล้วลดลงในปีที่แล้วเหลือ 900 ล้านดอลลาร์ จาก 1.4 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022 ตามข้อมูลของผู้ให้บริการข้อมูล AlliedOffsets


🚩 แหล่งที่มาของข้อมูล: Financial Times


---------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่

Facebook: Net Zero Techup


ดู 13 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page