top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

♻️ สถานการณ์คาร์บอนเครดิตทั่วโลกชะลอตัวลง เพราะอะไร ?


ในช่วงปี 2020-2021 ตลาดคาร์บอนทั่วโลกมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ในปี 2022 ตลาดคาร์บอนเริ่มชะลอตัวลง ซึ่งเกิดจากกลไกตลาดทั้งด้านอุปทาน การรับรองเครดิตใหม่และด้านอุปสงค์ของผู้ใช้เครดิตที่ปรับลดลง โดยความต้องการส่วนใหญ่ยังคงมาจากภาคธุรกิจเอกชนแบบสมัครใจ ขณะที่ความต้องการจากภาคบังคับเริ่มมีความต้องการมากขึ้นเช่นกัน โดยในปี 2022 มีการรับรองคาร์บอนเครดิตลดลงประมาณ 22% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า


✅️ จำนวนคาร์บอนเครดิตที่ได้การรับรองจากองค์กรอิสระ (เช่น Verified Carbon Standard และ Gold Standard) คิดเป็น 275 MtCO2eq หรือ 58% จากปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ถูกรับรองทั้งหมด 475 MtCO2eq ในขณะที่การรับรองคาร์บอนเครดิตโดยหน่วยงานระหว่างประเทศ (#UNFCCC) ผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) เติบโตขึ้น คิดเป็น 30% ซึ่งคาร์บอนเครดิตของโครงการ #CDM สามารถใช้เพื่อการชดเชยในเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดได้ (Nationally Determined Contribution: #NDC)


นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานภายในประเทศที่มีหน่วยงานจากภาครัฐให้การรับรองคาร์บอนเครดิต เช่น โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เป็นสัดส่วนประมาณ 10% เท่านั้น


อย่างไรก็ตาม มีหลายๆ ประเทศเริ่มพัฒนามาตรฐานการรับรองคาร์บอนเครดิตภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อการชดเชยในระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและภาษีคาร์บอน แบบสมัครใจจากภาคเอกชน และภายใต้ความตกลง Paris Agreement Article 6


✅️ โดยคาร์บอนเครดิตที่ถูกรับรองส่วนใหญ่มาจากประเภทพลังงานหมุนเวียน สัดส่วนกว่า 55% ซึ่งปัจจุบันต้นทุนในการทำโครงการประเภทนี้เริ่มถูกลงในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้หลัก Financial Additionality เพื่อดึงดูดให้ทำโครงการ ซึ่งส่งผลให้โครงการที่ขึ้นทะเบียนใหม่ๆ ของประเภทพลังงานหมุนเวียนจะเริ่มลดลง ขณะที่สถิติการขึ้นทะเบียนโครงการใหม่ประเภทป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีสัดส่วนกว่า 54% ซึ่งจะส่งให้ผลการรับรองคาร์บอนเครดิตที่มาจากประเภทนี้มีมากขึ้นในอนาคต เพราะผู้พัฒนาโครงการทราบดีว่าคาร์บอนเครดิตจากโครงการเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมหรือโครงการที่สามารถกักเก็บไว้ได้ในระยะยาว สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ภาคธุรกิจเอกชนมุ่งสู่ง Net Zero ได้ ซึ่งในอนาคตจะมีความต้องการคาร์บอนเครดิตประเภทนี้สูง


✅️ ขณะที่ด้านอุปสงค์รายงานจาก Ecosystem Marketplace พบว่ามีการใช้คาร์บอนเครดิตลดลงจากปีก่อนหน้า ประมาณ 1.3% แต่ยังคงสูงกว่าปี 2019 และ ปี 2020 กว่า 140% และ 70% ตามลำดับ โดยปี 2022 มีการใช้คาร์บอนเครดิตประมาณ 196 MtCO2eq ส่วนใหญ่มาจากภาคสมัครใจ และข้อมูลจากภาครัฐระบุว่าประมาณ 43 MtCO2eq ใช้ในภาคบังคับ ทั้งนี้การใช้คาร์บอนเครดิตส่วนใหญ่มาจากโครงการประเภทพลังงานหมุนเวียน 52% ซึ่งเป็นประเภทที่มีขายอยู่มากที่สุดในตลาดคาร์บอนและมีราคาถูก อีกกว่า 30% มาจากโครงการประเภทเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานจากอุปกรณ์ในครัวเรือน เป็นผลมาจากผู้ซื้อคำนึงถึงผลประโชน์ร่วมที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่าราคาเครดิตประเภทนี้จะสูงกว่าประเภทอื่นๆ ก็ตาม


🚩แหล่งที่มาของข้อมูล:


ดู 12 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page