top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

♻️ ปราชญ์ชาวบ้าน เปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง (Pyrolysis Oil)


การเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นกระบวนการที่กำลังได้รับความนิยมในการจัดการขยะพลาสติก ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดจากพลาสติกที่ย่อยสลายยาก กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการกลั่นน้ำมันผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า ไพโรไลซิส (Pyrolysis) โดยนำพลาสติกไปผ่านความร้อนสูงในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน ทำให้พลาสติกแตกตัวกลายเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งสามารถนำไปใช้ในเครื่องยนต์หรือเป็นพลังงานสำหรับภาคอุตสาหกรรมได้


☘️ อ้างอิงจากเพจเฟสบุ๊ค บ่าวแมน วิถีเกษตร ได้มีการริเริ่มโครงการที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้เพื่อการจัดการขยะในชุมชน โดยไม่เพียงแค่ลดขยะพลาสติกแต่ยังช่วยผลิตพลังงานที่มีประโยชน์อีกด้วย


โครงการการผลิตน้ำมันจากขยะถุงพลาสติกที่ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เป็นการผลิตแบบแบชท์ (batch) ใช้วัตถุดิบหลัก คือ ขยะถุงพลาสติก ปริมาณ 20 กิโลกรัมต่อการผลิต 1 แบชท์ ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ในกระบวนการไพโรไลซิสและการกลั่นแยก จนได้น้ำมันดีเซลในปริมาณ 17-18 ลิตร เชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการเผาไหม้ให้ความร้อนจะใช้น้ำมันพืช หรือ น้ำมันขี้โล้ (น้ำมันที่เหลือจากการทำอาหาร) และน้ำมันเกียร์ที่มีราคาถูกเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต


🚩️ ขั้นตอนในการเปลี่ยนขยะถุงพลาสติกเป็นน้ำมันมีดังนี้


✅️ 1. รวบรวมขยะพลาสติก: เริ่มต้นด้วยการคัดแยกถุงพลาสติกหรือพลาสติกชนิดอื่นๆ ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ง่าย เช่น พลาสติกประเภท PE (Polyethylene) และ PP (Polypropylene)


✅️ 2. การทำความสะอาดและเตรียมพลาสติก: พลาสติกที่รวบรวมมาต้องผ่านการล้างทำความสะอาดเพื่อลดสิ่งสกปรกหรือสารเคมีอื่นๆ ที่อาจปนเปื้อน


✅️ 3. กระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis): พลาสติกที่เตรียมไว้จะถูกนำเข้าเตาเผาในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน (หรือมีน้อยที่สุด) โดยใช้ความร้อนสูง (ประมาณ 300-500 องศาเซลเซียส) กระบวนการนี้จะทำให้พลาสติกแตกตัวออกเป็นไอระเหยที่สามารถนำไปควบแน่นเป็นของเหลวได้


✅️ 4. การควบแน่น: ไอระเหยที่ได้จากการเผาจะถูกส่งผ่านระบบท่อที่ทำให้เย็นลง ไอระเหยเหล่านี้จะกลั่นตัวกลายเป็นของเหลวที่มีลักษณะเป็นน้ำมันสีดำ เรียกว่า น้ำมันไพโรไลซิส (Pyrolysis Oil) ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้เสมือนกับน้ำมันเตา


✅️ 5. การกลั่นแยกน้ำมัน: น้ำมันไพโรไลซิสที่ได้จะถูกแยกออกมาและปรับปรุงคุณภาพเพิ่มเติมเพื่อให้น้ำมันที่ได้มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งาน เรียกว่า น้ำมันดีเซล (Deisel Oil) สามารถนำไปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ หรือใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรมได้


🎯 ประโยชน์ของการเปลี่ยนขยะถุงพลาสติกเป็นน้ำมัน

1. ลดปริมาณขยะพลาสติกที่สะสมในสิ่งแวดล้อม

2. ผลิตพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ ซึ่งช่วยลดการพึ่งพาน้ำมันดิบจากธรรมชาติ

3. สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนจากการขายน้ำมันที่ได้จากกระบวนการนี้


🌡🌏 อย่างไรก็ดี ในระหว่างกระบวนการไพโรไลซิสและการกลั่นเเยกจะก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมลพิษอื่นๆ ซึ่งจะต้องปรับปรุงกระบวนการโดยอาศัยเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน (Carbon Capture) ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


🚩 แหล่งที่มาของวิดีโอ: บ่าวแมน วิถีเกษตร (Facebook)


ท่านใดสนใจติดต่อ 092-4583363 บ้านชัยบาดาลยุคใหม่ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี


---------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่

Facebook: Net Zero Techup


#NetZeroTechup #GlobalWarming #ClimateChange #NetZero #Pyrolysis #เปลี่ยนขยะเป็นน้ำมัน #กลั่นน้ำมันจากถุงพลาสติก #ชัยบาดาล #ลพบุรี #บ่าวแมนวิถีเกษตร

ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page