🚩 เมื่อวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา โครงการดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ของจีนชื่อ "Experimental Advanced Superconducting Tokamak (EAST)" ได้เปิดเผยความสำเร็จทำสถิติใหม่สามารถควบคุมสถานะพลาสมาให้อยู่ในสภาวะคงตัวความร้อนสูงได้นานถึง 403 วินาที ซึ่งก่อนหน้านี้โครงการดังกล่าวได้เคยทำการทดสอบควบคุมพลาสมาให้อยู่ในสภาวะคงตัวความร้อนสูงได้นาน 101.2 วินาที มาแล้วในปี 2020 นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่น (Nuclear Fusion) สำหรับใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มหาศาลโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil) ในอนาคตเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน (Global Warming)
จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเทคโนโลยีดวงอาทิตย์เทียมก้าวหน้ามากที่สุดในโลก หลักการทำงานของดวงอาทิตย์เทียมคือการใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์โทคาแมค (Tokamak) เพื่อทำปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่เรียกว่า Magnetic Confinement Fusion (MCF) คือ การให้ความร้อนกับพลาสมาของไอโซโทปไฮโดรเจนจนถึงจุดที่เกิดปฏิกิริยาฟิวชัน โดยกระแสของพลาสมาจะถูกบังคับให้เคลื่อนที่ด้วยสนามแม่เหล็กที่อยู่ภายในระบบกักเก็บรูปวงแหวน (Toroidal Confinement System) เพื่อลดโอกาสที่กระแสพลาสมาจะสัมผัสกับผนังของวงแหวนจนเกิดการสูญเสียความร้อน ไฮโดรเจน (Hydrogen) หรือดีบิวเทรียม (Deuterium) จะถูกใช้เป็นเชื้อเพลิง พลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันจะมีอุณหภูมิสูงถึง 100 ล้านองศาเซลเซียส พลังงานความร้อนที่ได้จากดวงอาทิตย์เทียมถูกไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
โดยทั่วไปเราจะคุ้นเคยกับสสาร 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ แต่ยังมีสสารสถานะที่ 4 คือ พลาสมา ที่เกิดขึ้นเมื่อก๊าซได้รับความร้อนที่สูงมากพอจนทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม ทำให้ก๊าซแตกตัวกลายเป็นพลาสมาซึ่งเป็นกลุ่มของประจุบวกและประจุลบที่ลอยเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ทำให้พลาสมามีสภาพนำไฟฟ้าได้
เตาปฏิกรณ์โทคาแมค เป็นอุปกรณ์กักเก็บพลาสมาพลังงานสูงโดยใช้สนามแม่เหล็ก และเป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน มีการใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ในสหภาพโซเวียต การควบคุมพลาสมาพลังงานสูงไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีความแปรปรวนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่นการเสียอนุภาคหรือพลังงานออกไปจากแกนกลางของพลาสมา ซึ่งทำให้ความหนาแน่นของพลังงานของพลาสมาตกลง ทำให้การเกิดฟิวชันเกิดได้ไม่ต่อเนื่องหรือไม่เกิดเลย
นอกจากโครงการ EAST ของจีน ปัจจุบันมีหลายประเทศที่กำลังพัฒนาดวงอาทิตย์ประดิษฐ์เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เช่นโครงการ JET และ ITER ของกลุ่มประเทศยุโรป, โครงการ T-15 และ T-10 ของรัสเซีย, โครงการ JT-60 ของญี่ปุ่น, โครงการ SST-1 ของอินเดีย, โครงการ NSTX และ NSTX-U ของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
🚩 แหล่งที่มาของข้อมูลเเละรูปภาพ:
https://elibrary.tint.or.th/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%81-tokamak/
---------------------------------------------------
ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่
Website: www.netzerotechup.com
Facebook: Net Zero Techup
Comments