top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

♻️ จีนตั้งเป้าทดสอบพลังงานแสงอาทิตย์บนอวกาศรอบวงโคจร LEO ในปี 2028 และวงโคจร GEO ในปี 2030

อัปเดตเมื่อ 5 มี.ค. 2566


🚩 China Academy of Space Technology (CAST) ซึ่งเป็นผู้ผลิตยานอวกาศหลักของประเทศ ได้วางแผนที่จะดำเนินการ “การถ่ายโอนไฟฟ้าแรงสูงในอวกาศและการทดลองการส่งพลังงานแบบไร้สาย” ในวงโคจรระดับต่ำ (LEO) ในปี 2028


CAST ได้ระบุในปี 2021 ว่ากำลังดำเนินการทดสอบการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กในปี 2022 ซึ่งอาจนำไปสู่โรงงานผลิตไฟฟ้าระดับเมกะวัตต์ในปี 2030


โดยเมื่อการทดสอบระยะที่หนึ่งเเล้วเสร็จจะตามมาด้วยการทดลองระยะที่ 2 โดยจะดำเนินการในวงโคจร Geostationary Orbit (GEO) ซึ่งต้องมีการส่งพลังงานที่แม่นยำด้วยระยะทางกว่า 35,800 กิโลเมตร มายังโลก


สำหรับระยะที่ 3 และ 4 จะเริ่มในปี 2035 และ 2050 ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายการผลิตพลังงานขนาด 10 เมกะวัตต์ และ 2 กิกะวัตต์ ตามลำดับ ซึ่งจะต้องเพิ่มขีดความสามารถอย่างก้าวกระโดดในการส่งพลังงาน (Power Transmission) ความสามารถในการประกอบ SBSP บนอวกาศ ความแม่นยำในการบังคับทิศทางของลำแสง และสถาปัตยกรรมการส่งกำลัง เป็นต้น


โดยมหาวิทยาลัยซีเตี้ยน (Xidian University) ของจีนได้สร้างอุปกรณ์และระบบตรวจสอบภาคพื้นดินสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศครั้งแรกของโลก ที่สามารถดำเนินการและทดสอบการรวบรวมและส่งพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศในทุกขั้นตอน ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างในปี 2018


ล่าสุดทางมหาวิทยาลัยซีเตี้ยนได้ประกาศผ่านข่าวประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย (Press Release) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า ทางมหาวิทยาลัยซีเตี้ยนได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบ ซึ่งเร็วกว่ากำหนดถึงสามปี


🚩 แหล่งที่มาของข้อมูลเเละวีดิโอ:

🚩 แหล่งที่มาของข้อมูลเเละวีดิโอ:





---------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่


ดู 10 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page