จากการศึกษากรณีตัวอย่างในต่างประเทศ ในการคำนวณกลไกราคาคาร์บอน โดยการนำสินค้าเชื้อเพลิงจำนวนเท่ากันไปเผาไหม้แล้วบันทึกปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมา ซึ่งเชื้อเพลิงแต่ละชนิดมีความสะอาดไม่เท่ากัน แต่การดำเนินงานของไทยเบื้องต้นอาจจะพิจารณากำหนดราคาคาร์บอนเป็นราคาเดียว เช่น 200 บาท หรือประมาณ 6 ดอลลาร์
ยกตัวอย่างวิธีการคำนวณ เช่น เดิมการเสียภาษีสรรพสามิตน้ำมัน 6 บาท หากปรับเปลี่ยนแล้วจะกลายเป็นเสียภาษีสรรพสามิตน้ำมัน 5 บาท แต่ส่วนที่เหลือเป็นภาษีคาร์บอน ฉะนั้น ราคาที่ประชาชนต้องจ่ายภาษีน้ำมันเท่าเดิม แต่จะมีราคาของคาร์บอนอยู่ในสินค้าที่ผลิตคาร์บอน
เมื่อนำราคาคาร์บอนไปคำนวณกับปริมาณเชื้อเพลิงก็จะได้ออกมาเป็นกลไกราคาคาร์บอนที่อยู่ในเชื้อเพลิงแต่ละประเภท ซึ่งน้ำมันที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุดคือ LPG รองลงมาเป็นน้ำมันเตา ดีเซล และเบนซิน
🎯 #กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กำลังเร่งผลักดันพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา โดยมีเป้าหมายไม่ใช่เพื่อ “ฆ่า” ธุรกิจไทย แต่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) บนพื้นฐานของความยั่งยืน
พ.ร.บ. นี้ประกอบด้วย 14 หมวด แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
▪️ 1. การลดก๊าซเรือนกระจก โดยกำหนดให้มีการรายงานข้อมูลเป็นรายองค์กร
▪️ 2. กลไกการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading) ของภาคอุตสาหกรรมเป็นรายสาขา
▪️ 3. การจัดสรรสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงความสามารถในการผลิตและปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา
ทั้งนี้ คาดว่า พ.ร.บ. นี้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีภายในปี 2025 เพื่อส่งต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ในปี 2026
🚩 แหล่งที่มา: #ฐานเศรษฐกิจ
Comments