top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

♻️ Amogy รถบรรทุกขับเคลื่อนด้วยพลังงานแอมโมเนีย คันแรกของโลก!

อัปเดตเมื่อ 5 มี.ค. 2566


🚛 บริษัท Amogy Inc. ประกาศความสำเร็จในการทดสอบรถบรรทุกไร้มลพิษที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแอมโมเนียเป็นครั้งแรก ณ เมืองบรูคลิน รัฐนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา หลังจากผสานรวมเทคโนโลยีเข้ากับมอเตอร์ไฟฟ้าของโดรน (drone) ขนาด 5 กิโลวัตต์ ในเดือนกรกฎาคม 2564 และรถแทรกเตอร์ของจอห์นเดียร์ (John Deere) ขนาด 100 กิโลวัตต์ ในเดือนพฤษภาคม 2565 โดยล่าสุด Amogy ได้เปลี่ยนแอมโมเนียให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าขนาด 300 กิโลวัตต์ ใช้เวลาในการเติมแอมโมเนียประมาณ 8 นาที รถบรรทุกจะมีพลังงานไฟฟ้าสุทธิ 900 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งได้รับการทดสอบเป็นเวลาหลายชั่วโมงภายในมหาวิทยาลัย Stony Brook หลังจากประสบความสำเร็จในการทดสอบรถบรรทุกขนส่งสินค้าแล้ว Amogy จะยังคงร่วมมือกับบริษัทพันธมิตรในอุตสาหกรรมการขนส่งทั่วโลก ซึ่งรวมถึงเรือลากจูง (tugboat) ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแอมโมเนียขนาด 1 เมกะวัตต์ ที่จะนำเสนอภายหลังในปี 2566 อีกทั้งการปรับใช้ในเชิงพาณิชย์อื่นๆ รวมถึงโครงการติดตั้งเพิ่มเติม (retrofit) บนเรือเดินสมุทรของบริษัท Southern Devall


✅️ เทคโนโลยีการเปลี่ยนแอมโมเนียเป็นพลังงานไฟฟ้าของ Amogy นี้จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านพลังงานจากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนได้อย่างมีนัยสำคัญ การปลดล็อกศักยภาพของแอมโมเนียด้วยเทคโนโลยีของ Amogy จะทำให้แอมโมเนียแตกตัวเป็นไฮโดรเจนซึ่งจะถูกส่งตรงไปยังเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) เพื่อเเปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าให้กับรถบรรทุกโดยปราศจากมลพิษ แอมโมเนียเหลว (Liquid Ammonia) จะมีความหนาแน่นของพลังงานมากกว่าก๊าซไฮโดรเจนภายใต้แรงดัน (Compressed Hydrogen) ประมาณ 3 เท่า ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่ามาก ทำให้ประหยัดต้นทุนในการจัดเก็บและการขนส่ง


✅️️ แอมโมเนียจึงเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้โลกบรรลุเป้าหมาย Net Zero ผ่านห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของภาคการขนส่งที่ใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งเดิมมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและการจัดเก็บอยู่แล้ว เนื่องจากสินค้าทั่วโลกมีการผลิตและขนส่งแอมโมเนียมากถึง 200 ล้านตันในแต่ละปี ทำให้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่เหมาะสมและสามารถเข้าถึงได้


🚩 แหล่งที่มาของข้อมูลเเละวิดีโอ:


---------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่


ดู 25 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page